สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รัก วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง “Snowball Effect” กันนะครับ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า Snowball Effect คืออะไร ? ลองจินตนาการถึงการ์ตูนซักเรื่องนึงครับที่ในฉากนั้นมีผู้คนมากมายเล่นสกีบนภูเขาที่เต็มไปด้วยหิมะที่ขาวโพลน สักพักหนึ่งก็ได้ยินเสียงดังครืนมาจากด้านบนของภูเขาหิมะ หลังจากนั้นไม่นานหิมะก็เริ่มทะล่มลงมาจากยอดเขาที่สูงชัน หิมะที่กลิ้งลงมากจากเขาที่สูงชันก็เริ่มก่อตัวจนใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นเรื่อยจนเป็นก้อนกลมวิ่งลงมา ยิ่งวิ่งลงมานานเท่าไหร่ ก้อนหิมะดังนั้นก็จะใหญ่ขึ้นเท่านั้น
หากเปรียบเทียบ Snowball Effect เป็นเหมือนกับคนคิดของคนเรา ความคิดแรกที่เหมือนจุดริ่มต้นของหิมะก้อนนี้ มักจะเริ่มต้นจากก้อนเล็กเพียงนิดเดียว แต่หากให้เวลามันได้กลิ้งลงมามากขึ้นเท่าใด มันย่อมขยายตัวมากขึ้นได้เช่นกันตามกฎของแรงโน้มถ่วงนั่นเอง
ดังนั้นหากปล่อยเราตกอยู่ในสภาวะความตึงเครียดไม่ว่าจากการทำงานหรือจากเรื่องส่วนตัวใด ๆ ก็ตาม ลองนึกย้อนกลับไปดูสิครับว่า ความเครียดเหล่านั้นแปลงสภาพไปเป็นความรู้แย่ ๆ ได้รวดเร็วเพียงใด ผมจะลองยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ให้ดูครับ แล้วลองสังเกตว่าเหตุการณ์ประมาณนี้เคยเกิดกับตัวเราหรือไม่
ตัวอย่างของความคิดแบบ Snowball Effect
ผมขอยกตัวอย่างที่น่าสนใจมากจากหนังสือ Don’t Sweat The Small Stuff หรือชื่อภาษาไทยคือ เชื่อเถอะอย่าเยอะเกิน ของ Richard Carlson ที่ยกตัวอย่างไว้ได้อย่างน่าสนใจดังนี้
คุณอาจสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก และนึกขึ้นได้ว่ามีโทรศัพท์ที่จะต้องโทรในวันพรุ่งนี้ หลังจากนั้น แทนที่จะรู้สึกโล่งอกที่จำโทรศัพท์สายสำคัญได้ คุณกลับคิดถึงอย่างอื่นที่ต้องทำในวันพรุ่งนี้ต่อ คุณเริ่มซักซ้อมบทสนทนาที่อาจจะเกิดขึ้นกับเจ้านายแล้วก็ยิ้งหัวเสีย ในไม่ช้าคุณก็เริ่มคิดว่า “ ไม่อยากจะเชื่อว่าชีวิตฉันยุ่งยากขนาดนี้ ฉันต้องโทรศัพท์วันละตั้งห้าสิบสาย นี่มันชีวิตอะไรกันเนี่ย” แล้วก็คิดต่อไปเรื่อย ๆ กระทั่งความรู้สึกสงสารตัวเอง[1]
จะเห็นได้ว่าการตื่นโดยบังเอิญและเกิดความคิดเล็ก ๆ ผุดขึ้นมาในหัวกลับกลายมาเป็นความสมเพชตัวเองที่ดูใหญ่โตได้อย่างง่ายดาย
แล้วเราจะแก้ไขได้อย่างไร ?
ผู้เขียนได้แนะนำวิธีแก้ไข Snowball Effect ไว้คือ ให้เราสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นในหัวก่อนที่ความคิดต่าง ๆ จะมีโอกาสสร้างแรงผลักดันใด ๆ ยิ่งคุณหยุดสร้าง Snowball ในใจได้เร็ว มันก็จะหยุดแรงผลักดันได้ง่ายขึ้น ในตัวอย่างที่ยกมา คุณอาจสังเกตเห็นความคิดแบบ Snowball ทันทีที่คุณเริ่มไล่รายการสิ่งที่ต้องทำในวันถัดไป จากนั้น แทนที่จะหมกมุ่นกับวันที่ยังมาไม่ถึงให้คุณบอกกตัวเองว่า “อุ๊ย เอาอีกแล้วนะเรา” แล้วตัดไฟตั้งแต่ต้นลมอย่างมีสติเสีย คุณหยุดขบวนความคิดตัวเองก่อนที่มันจะมีโอกาสได้เริ่ม จากนั้นก็เพ่งความสนใจ ไม่ใช่ความรู้สึกเหมือนถูกรุมเร้าจากทุกทิศทาง แต่ที่ความรู้สึกขอบคุณที่คุณจำโทรศัพท์สายสำคัญซึ่งต้องโทรในวันพรุ่งนี้ได้ หากเป็นช่วงกลางดึกก็ให้จดเรื่องนั้นใส่กระดาษแล้วกลับไปนอนเสีย หลังจากนี้คุณลองหาปากกากีบกระดาษมาวางไว้ข้างเตียง เตรียมไว้สำหรับช่วงเวลาดังกล่าวก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน
บทสรุปส่งท้าย
วิธีจัดการกับ Snowball Effect ด้วยการจดบันทึกอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ แต่การที่จะทำให้ได้ผลดีนั้นเราต้องหมั่นฝึกสังเกตความคิดของเราไปด้วยเพราะการจดที่ดีนั้นจะเป็นการสะท้อนความคิดของเราออกมาให้อยู่ในรูปของตัวหนังสือหากจะทำให้เกิดผลประโยชนากที่สุดบางทีเราก็ต้องเขียนความรู้สึกนึกคิดที่ค้างอยู่ในใจให้ออกมาอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด เมื่อเราสามารถฝึกสงเกตความคิดจนชำนาญแล้วเราอาจจะจัดการความเครียดที่เกิด Snowball Effect นี้ได้ตั้งแต่หิมะก้อนนี้ยังไม่ใหญ่โตจนไม่สามารถหยุดได้อีกต่อไป
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านนะครับ ขอให้ลองนำวิธีนี้ไปฝึกกันดูเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ แล้วพบกันบทความหน้า สวัสดีครับ
[1] Don’t Sweat the Small Stuff, Richard Carlson , Page 36 ตระหนักผลกระทบแบบสโนว์บอลของความคิด
บทความแนะนำสำหรับคุณ….
ทำไมถึงต้อง”นอนหลับตรงเวลา” ?
วันนี้จะขอมาแชร์หัวข้อที่มีคนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากคือ “การนอนหลับนั่นเอง” เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการนอน
‘คลื่นเสียงบำบัด’ อีกศาสตร์แห่งการผ่อนคลาย
การผ่อนคลายจากความเครียดนั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน แม้ว่าเพิ่งปลดล็อคดาวน์ได้ไม่กี่วัน แต่ครั้นว่าจะให้ออกไปทำกิจกรรมนอกสถานที่หรือออกไปเดินเที่ยวเล่นเหมือนอย่างเคยอาจจะดูเป็นเรื่องอันตรายไปเสียหน่อย ดังนั้นในบทความนี้เราจึงจะมาแนะนำวีธีการผ่อนคลายง่าย ๆ ขอเพียงแค่คุณมีสมาร์ทโฟนและหูฟังที่พอใช้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว