มื้อเช้านั้น สำหรับจริงหรือ ?

Header-breakfast

                    เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายท่านน่าจะเคยได้เรียนในวิชาสุขศึกษาหรือวิชาอื่น ๆ ว่าด้วยเรื่องของมื้ออาหารที่เราควรปริโภคในแต่ละวันว่า เราควรจะทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่เราเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า “ถ้าเป็นแบบนั้นแปลว่าการทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อจะทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงงั้นหรือ ?

3 มื้อที่ผิดเวลาอาจทำลายสุขภาพได้

                จากผลงานวิจัยจากหลายๆ มหาวิทยาลัยพบว่า การที่ทาน 3 มื้อแบบผู้คนปกตินั้นจะทำให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้ง่าย เนื่องจากเราไม่ได้ทานอาหารตามเวลาชีวภาพของร่างกาย [1] สมมุติว่าเพื่อน ๆ ทำงานเป็นพนักงานเงินเดือนทั่วไปที่เข้างาน 8.00 น. และเลิกงาน 17.00 น. อย่างที่ได้ทราบไปในบทความ 3 นิสัยที่ทำให้อายุสั้น แล้วว่า การบริโภคที่ม่จำกัดเวลาทาน (Feeding time) ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติและตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิต Insulin ก็จะทำงานได้แย่ลงด้วย

                จากวีดิโอด้านล่างนี้เป็นผลงานวิจัยที่ทำจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อหาคำตอบว่าการทานอาหารอย่างไรที่จะทำให้น้ำหนักผู้เข้าร่วมทดลองลดลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพโดยรวมของผู้เข้าร่วมทดลองดีขึ้นได้ ซึ่งคำตอบที่ได้จากการทดลองจากหลากหลายมหาวิทยาลัยพบว่า การทานมื้อสุดท้ายเร็วขึ้นจะส่งผลให้น้ำหนักของผู้เข้าร่วมทดลองลดลงได้

แสดงว่าอดอาหารทำให้ร่างกายแข็งแรงหรือ ?

            คำตอบคือ “ใช่ครับ” มีการศึกษาจากงานวิจัยที่หลากหลายว่า ในอดีตกาลช่วงสมัยยุคหินนั้นคนเราขาดแคลนสิ่งอุปโภคมากกว่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก การดำรงชีวิตอยู่หลายล้านปีของเผ่าพันธุ์ทำให้ร่างกายเรารับรู้หากเผชิญกับสภาวะคับขันยากลำบาก (เช่นการไม่มีอาหาร) จะต้องทำให้ร่างกายนั้นแข็งแรงเพื่อให้ดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ต่อไปได้ [2]

          อีกเหตุผลทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งคือ การอดอาหารนั้นจะทำให้เซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้พักฟื้นจากการทำงานแบบจริง ๆ ซึ่งการอดอาหารนับเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอย่างเช่นคนดัง

อย่าง แจ็ค ดอร์ซี่ย์ (Jack Dorsey) ผู้ก่อตั้ง Twitter จะทานอาหารเพียง 1 มื้อวันจันทร์ – ศุกร์ และจะไม่ทานอาหารในเย็นวันศุกร์และวันเสาร์ทั้งวัน จะเริ่มทานอีกทีตอนเย็นวันอาทิตย์

                โดยทั่วไปแล้ว การอดอาหารที่โดยการทานเพียง 2 มื้อต่อวันและจำกัดเวลาการกินที่ 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่อดอาหารอีก 16 ชั่วโมงต่อวัน เป็นสูตรที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะการลดอาหาร 1 มื้อซึ่งคิดเป็นประมาณ 500 kcal นั้นหากคิดเป็นน้ำหนักแล้ว 7,700 kcal [3] จะเท่ากับน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดงนั้นการลดปริมาณอาหารลง 500 kcal จะทำให้น้ำหนักลดลง 1 กิโลกรัมได้ภายในเวลาประมาณ 20 วัน

                ถ้าเปรียบเทียบกับการทานอาหาร 3 มื้อ และเปลี่ยนจากการอดอาหารเป็นการออกกำลังกายแบบปานกลางเช่นการวิ่งเหยาะ ๆ อาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 – 1.5 ชม.สำหรับผู้คนทั่วไป

Jogging

                ทีนี้เพื่อน ๆ คงจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการอดอาหารหรือออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักแล้วแหละครับว่าตัวเองถนัดแบบไหนมากกว่ากัน คงจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า การลดน้ำหนักนั้น 70 – 80% มาจากการกิน ส่วน 20 – 30% มาจากการออกกำลังกายไหมครับ ? ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าใครกล่าวไว้ แต่ตัวเลขนี้ดูสมเหตุสมผลทีเดียวครับ

                ก่อนจะจากกันไป ผมเชื่อว่าการจะลดน้ำหนักหรือรักษาสุขภาพให้ดีนั้น คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดได้ผลทันทีทันใดอย่างแน่นอน แต่การเปลี่ยนแปลงที่จะทำได้เร็วที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลง “ทัศนะคติ” เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพว่า เราทำไปเพื่ออะไร มีเป้าหมายอะไรในการทำแบบนี้ เพราะหากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว จะทำให้เริ่มมองเห็นเส้นทางที่เราต้องเดินไปและใช้เป็นแรงผลักดันให้เราลุกขึ้นมาดูแลสุขภาพได้นั่นเองครับ วันนี้ขอลากันแต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะครับ ขอบคุณสำหรับทุกท่านที่อ่านมาถึงตรงน้นะครับ

 

—————————————————————————–

[1] กินอาหารครบ 3 มื้อ ก่อนบ่าย 3 โมง ช่วยลดน้ำหนัก-ดีต่อสุขภาพ – BBC News ไทย

[2] Healthy aging , ศุภวุฒิ สายเชื้อ, บทที่ 3 การกิน

[3] แคลอรี่ี่ (siamhealth.net)

admin@Acover

See all author post

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are makes.